โครงการประกวดสุดยอดพลังงานไทยระดับสากล ประจำปี 2024

 
 
ผู้เข้าชมทั้งหมด     218,047
สมาชิกทั้งหมด      415
ผู้ที่กำลังออนไลน์   15
 
 
  ผู้เข้าร่วมประกวดโครงการ
หน้าแรก ดาวน์โหลดเอกสาร เว็บบอร์ด ติดต่อเรา
 
 
 
 
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วยโรงงานและอาคารควบคุมตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และที่อยู่นอกข่ายควบคุม ซึ่งเป็นภาคที่ใช้พลังงานในปริมาณที่สูง และมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้งเจ้าของกิจการ ผู้บริหาร วิศวกร และพนักงาน ตลอดจนองค์กรที่มีบทบาทส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น สถานศึกษา สมาคม สื่อมวลชน เป็นต้น ส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวในการอนุรักษ์พลังงาน และผลักดันให้เกิดการพัฒนาพลังงานทดแทนมากยิ่งขึ้น โดยการจัดประกวดThailand Energy Awards ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา เพื่อเป็นการแสดงความชื่นชมและยกย่องโรงงาน อาคารบุคลากร และผู้มีส่วนส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน ที่มีผลงานดีเด่น อันจะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่องค์กรต่างๆ ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับในการประกวด Thailand Energy Awards นอกจากนี้ ยังได้คัดเลือก ผู้ชนะการประกวดเป็นตัวแทนประเทศไทยไปประกวดในระดับอาเซียนต่อไปด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน จึงได้ดำเนินการจัดประกวด Thailand Energy Awards ต่อเนื่องทุกปี
 
    
 
1.  เพื่อยกย่องและชื่นชมแก่ผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน
2.  เพื่อส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวในการอนุรักษ์พลังงานและผลักดันให้เกิดการพัฒนาพลังงานทดแทนมากยิ่งขึ้น
3.  เพื่อคัดเลือกผู้ที่จะเป็นตัวแทนของประเทศไทยไปประกวดในระดับอาเซียน
 
    
1.  โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
2.  โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่ได้อยู่ในข่ายควบคุมตาม
     พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
3.  เจ้าของหรือผู้บริหารของสถานประกอบการ ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ผชร./ผชอ.)
     และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านพลังงานของสถานประกอบการ
4.  หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทในการให้การส่งเสริมและสนับสนุนงานการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน
5.  ผู้ผลิตและผู้พัฒนาพลังงานทดแทน
 
      Thailand Energy Awards 2013 แบ่งการประกวดออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้
             
 1.  โครงการที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (On-Grid)
           โครงการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งวัตถุดิบพลังงานทดแทนที่เชื่อมโยงเข้ากับระบบสายส่งหรือ
      ระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า (National Power Grid) หรือเชื่อมโยงกับระบบในระดับพื้นที่/ท้องถิ่น
      (Local Power Grid)
 2.  โครงการที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid)
           โครงการผลิตไฟฟ้าหรือพลังงานรูปแบบอื่น เช่น ความร้อน ไอน้ำ น้ำมันเชื้อเพลิง เชื้อเพลิง ฯลฯ
      จากแหล่งวัตถุดิบพลังงานทดแทน เพื่อใช้เองภายในบริษัท/โรงงาน กิจการ ชุมชน ฯลฯ โดยไม่เชื่อมโยง
      เข้ากับระบบสายส่งหรือระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า (Standalone or Self-generation for own use)
 3.  โครงการพลังความร้อนร่วม (Cogeneration)
           โครงการ/ระบบผลิตพลังงานร่วม (Combined Cycle) มากกว่า 2 รูปแบบขึ้นไปจากแหล่งวัตถุดิบ
      พลังงานทดแทนชนิดเดียว ครอบคลุมทั้งโครงการหรือระบบโคเจนเนอเรชั่น (Cogeneration) และระบบ
     ไตรเจนเนอเรชั่น (Tri-Generation) ตัวอย่างเช่น ระบบผลิตไฟฟ้าหรือพลังงานกล ควบคู่กับการใช้ประโยชน์
     ความร้อน เช่น ไอน้ำ อากาศร้อน ฯลฯ และ/หรือ ความเย็น
 4. โครงการเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel)
           โครงการผลิตเชื้อเพลิงจากชีวมวลหรือมวลชีวภาพ (Biomass) ครอบคลุมการผลิตเชื้อเพลิง
     ชีวภาพรูปแบบของเหลว เช่น ไบโอดีเซล (biodiesel) เอทานอล (ethanol) ฯลฯ และของแข็ง
     เช่น เชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง/อัดเม็ด (biomass pellet)
           ชีวมวลหรือมวลชีวภาพ (Biomass) หมายถึง สสารหรือผลผลิตที่ได้จากสิ่งมีชีวิต (พืชหรือสัตว์)
     รวมถึงผลผลิตจากการสร้างและสลายของสิ่งมีชีวิต (metabolic byproducts) เช่น มูลสัตว์
 5. โครงการประยุกต์ใช้พลังงานทดแทน (Special Submission)
           โครงการนวัตกรรม โครงการสร้างสรรค์ โครงการวิจัย/สาธิต หรือแนวปฏิบัติที่ดี (best practice)
     ที่ส่งเสริมการพัฒนาการผลิต/การใช้พลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน ทั้งโครงการในเชิงพาณิชย์และในระดับชุมชน
 
             
 1. ประเภทโรงงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ดังนี้

     1.1  โรงงานควบคุม ได้แก่ โรงงานภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ติดตั้งหม้อ
                                   แปลงไฟฟ้าตั้งแต่ 1,175 kVA หรือ มีขนาดมาตรวัดไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ หรือใช้พลัง
                                   งานรวมกันในรอบหนึ่งปี ตั้งแต่ 20 ล้านเมกกะจูล)
     1.2  โรงงานนอกข่ายควบคุม ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่ได้อยู่ในข่ายควบคุมตาม
                                                พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535

2. ประเภทอาคาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ดังนี้

    2.1  อาคารควบคุม ได้แก่ อาคารภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
                                (ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าตั้งแต่ 1,175 kVA หรือมีขนาดมาตรวัดไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์
                                หรือใช้พลังงานรวมกันในรอบหนึ่งปี ตั้งแต่ 20 ล้านเมกกะจูล)
    2.2  อาคารนอกข่ายควบคุม ได้แก่ อาคารขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่ได้อยู่ในข่ายควบคุมตามพระราชบัญญัติ
                                             การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
    2.3  อาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน แบ่งเป็น 4 ประเภทย่อย ดังนี้

           2.3.1  อาคารใหม่ (New and Existing Building)
                     
ได้แก่ อาคารที่มีอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี และมีการออกแบบอาคารที่คำนึงถึงหลักการ
                     อนุรักษ์พลังงาน
           2.3.2  อาคารที่ปรับปรุงเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Retrofitted Building) ได้แก่ อาคารที่มีอายุการใช้งาน
                    ไม่ต่ำกว่า 5 ปี และมีการปรับปรุงเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยมีผลการอนุรักษ์พลังงานไม่ต่ำกว่า 20%
           2.3.3  อาคารออกแบบตามภูมิอากาศร้อนชื้น (Tropical Building) ได้แก่ อาคารที่ออกแบบโดยคำนึงถึง
                     ความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยมีพื้นที่ปรับอากาศไม่เกิน 50% ของพื้นที่ใช้สอยทั้ง
                     หมด (ไม่รวมพื้นที่จอดรถ)
           2.3.4 อาคารสีเขียว (Green Building) ได้แก่ อาคารที่มีการออกแบบ โดยคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อ
                                                                   สิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน

3. ประเภทขนส่ง ได้แก่ ผู้ที่ดำเนินการให้บริการขนส่ง และ/หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีระบบบริหารจัดการขนส่งเพื่อการ
                         ประหยัดพลังงาน
 
             

 1.  ผู้บริหาร
           ได้แก่ เจ้าของหรือผู้บริหารสูงสุดของโรงงาน / อาคาร
 2.  ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน
           ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ผชร. และ ผชอ.) ได้แก่
      ผู้รับผิดชอบประจำอาคารควบคุมโรงงานควบคุมตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
 3.  ผู้ปฏิบัติการด้านพลังงานของอาคาร/โรงงานนอกข่ายควบคุม
           ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของสถาน ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่ได้อยู่ในข่ายควบคุมตามพระราชบัญญัติ
      การส่งเสริม การอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 ซึ่งรับผิดชอบงานด้านอนุรักษ์พลังงานของสถานประกอบการ
 4.  ประเภททีมงานด้านการจัดการพลังงาน
           ได้แก่ ทีมงานด้านการจัดการพลังงานในโรงงานหรืออาคารทั้งที่เป็นโรงงาน/อาคารควบคุม

 
             
     ได้แก่ งานศึกษา การวิจัย หรือการประดิษฐ์คิดค้น สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือการ
พัฒนา/ปรับปรุงการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์พลังงานหรือการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หรือการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน
 
             

     ได้แก่ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานหรือพลังงานทดแทน และมีบทบาทที่ชัดเจนในการให้การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทั้งทางด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนแก่หน่วยงานอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งนี้ ประเภทของหน่วยงานที่เข้าข่ายได้รับการพิจารณา ได้แก่ สถาบันการศึกษา/สมาคม/องค์กร/หน่วยงาน สื่อโทรทัศน์/วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และเว็บไซต์ เป็นต้น
 

 
             

การพิจารณาตัดสินการประกวดทั้ง 5 ด้าน จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวด ประกอบด้วย

  • ผู้ทรงคุณวุฒิหรือนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา
  • ผู้แทนจากองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพต่างๆ 
  • ผู้แทนจาก พพ.
 
             
  • โล่เกียรติยศ
  • ป้ายประกาศเกียรติคุณ
  • ประกาศเกียรติคุณผ่านสื่อและโครงการด้านประชาสัมพันธ์ของ พพ.

    สำหรับผู้ที่ชนะการประกวดจะได้รับการคัดเลือก เป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าประกวดในระดับอาเซียน

 
 
 
             
 
 
ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1










ขั้นตอนที่ 2


ขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนที่ 4




ขั้นตอนที่ 5


ขั้นตอนที่ 6
ขั้นตอนที่ 7
ขั้นตอนที่ 8
รายละเอียด
ชี้แจงหลักเกณฑ์การประกวด


ครั้งที่ 1  โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรีอยุธยา
ครั้งที่ 2  โรงแรมสีมาธานี โคราช จ.นครราชสีมา
ครั้งที่ 3  โรงแรมลำพูนวิล จ.ลำพูน
ครั้งที่ 4  โรงแรมซิตี้ระยอง จ.ระยอง
ครั้งที่ 5  สถาบันไทย-เยอรมัน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี
ครั้งที่ 6  ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร


เปิดรับสมัครและส่งเอกสารประกวด


วันสุดท้ายของการรับเอกสารการประกวด

ขั้นตอนพิจารณาผลงานผู้เข้าประกวด [ 3 ขั้นตอน ]
- คณะกรรมการพิจารณารอบแรก (พิจารณาจากเอกสารการประกวด)
- คณะกรรมการประเมินผลงานจากสถานที่จริงและสัมภาษณ์เพิ่มเติม
- คณะกรรมการตัดสินผู้ได้รับรางวัลการประกวด

ส่งผลงานประกวดระดับอาเซียน


ประกาศผลการประกวด Thailand Energy Awards 2017
พิธีมอบรางวัล Thailand Energy Awards 2017
พิธีมอบรางวัล ASEAN Energy Awards 2017
        วันที่
2 พ.ย. 2559 ถึง
22 ธ.ค. 2559

2 พ.ย. 2559
3 พ.ย. 2559
9 พ.ย. 2559
16 พ.ย. 2559
17 พ.ย. 2559
22 พ.ย. 2559


1 พ.ย. 2559 ถึง
16 ม.ค. 2560

16 ม.ค. 2560
  
ก.พ. 2560
ถึง เม.ย.  2560



มี.ค. 2560 ถึง
เม.ย. 2560

ก.ค. 2560
ส.ค. 2560
ก.ย. 2560
 

                 หมายเหตุ ... ขั้นตอนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
 
             
 • โล่เกียรติยศ
 • ป้ายประกาศเกียรติคุณ
 • ประกาศเกียรติคุณผ่านสื่อและโครงการด้านประชาสัมพันธ์ของ พพ.

            สำหรับผู้ที่ชนะการประกวดจะได้รับการคัดเลือก เป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าประกวดในระดับอาเซียน
 
 
 

โครงการประกวดสุดยอดพลังงานไทยระดับสากล ประจำปี 2024